วันอังคารที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ผลิตภัณฑ์ชุมชน รัตนบุรี


สินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์


ความเป็นมาโครงการ

                  “หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์เป็นแนวทางประการหนึ่ง ที่จะสร้างความเจริญแก่ชุมชน ให้สามารถยกระดับฐานะความเป็นอยู่ของคนในชุมชนให้ดีขึ้น โดยการผลิตหรือจัดการทรัพยากรที่มีอยู่ในท้องถิ่น ให้กลายเป็นสินค้าที่มีคุณภาพ มีจุดเด่นเป็นเอกลักษณ์ของตนเองที่ สอดคล้องกับวัฒนธรรมในแต่ละท้องถิ่น  สามารถจำหน่ายในตลาดทั้งภายในและต่างประเทศ โดยมีหลักการ พื้นฐาน 3 ประการ คือ
                  1) ภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่สากล (Local Yet Global)
                  2) พึ่งตนเองและคิดอย่างสร้างสรรค์ (Self-Reliance-Creativity)
                  3) การสร้างทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource Development)
                  ผลิตภัณฑ์ ไม่ได้หมายถึงตัวสินค้าเพียงอย่างเดียวแต่เป็นกระบวนการทางความคิด รวมถึงการบริการ การดูแลการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การรักษาภูมิปัญญาไทย การท่องเที่ยว ศิลปวัฒนธรรม ประเพณี การต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่น การแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อให้กลายเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ มีจุดเด่น จุดขายที่รู้จักกันแพร่หลายไปทั่วประเทศและทั่วโลก     1) สร้างงาน สร้างรายได้ แก่ชุมชน     2) สร้างความเข้มแข็งแก่ชุมชน ให้สามารถคิดเอง ทำเอง ในการพัฒนาท้องถิ่น     3) ส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น     4) ส่งเสริมการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์     5) ส่งเสริมความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ของชุมชน ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ โดยสอดคล้องกับวิถีชีวิตและวัฒนธรรมในท้องถิ่น



วัตถุประสงค์
               จากนโยบายของรัฐบาล ที่แถลงต่อรัฐสภา และตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยคณะกรรมการอำนวยการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์แห่งชาติ พ.ศ. 2544 การดำเนินงานตามโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อ
การพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์
               นตผ.จังหวัด ได้ดำเนินการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการการพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ จำนวน 1 คณะ  ให้มีหน้าที่วางแผนพัฒนาผลิตภัณฑ์ ด้านการแปรรูป ออกแบบบรรจุภัณฑ์ การบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ให้ได้มาตรฐาน ตลอดจนติดตามประเมินและรายงานความก้าวหน้าให้ นตผ.จังหวัดทราบทุกระยะ  

สินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ของอำเภอรัตนบุรี จ.สุรินทร์ อาทิ

โสร่งหางกระรอก 



โสร่งหางกระรอก เป็นผ้าไหมขึ้นชื่อของชาวอำเภอรัตนบุรีกลุ่มครุฑสุวรรณไหมไทยสถานที่ตั้ง: 66/13 หมู่ 8 ถนนศรีนคร ตำบลรัตนบุรี อำเภอรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์ 32130
ผู้นำชุมชนและกลุ่ม :อรนุช ครุฑสุวรรณ    โทร: 044-599047,081-8783374



ดอกกุหลาบจากใบยางพารา

ผลิตภัณฑ์ (Product) Bouquet ดอกกุหลาบจากใบยางพารา
วัตถุดิบที่ใช้
ใบยางพารา, แจกันดินเผา
สถานที่จำหน่าย
กลุ่มหัตถกรรมไผ่พัฒนา
เลขที่ 114 หมู่ที่ 9 บ้านไผ่พัฒนา ตำบลไผ่ อำเภอรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์ 33000
ติดต่อ : นางปาริชาต ช่วยวัฒนะ
โทร : 044 536369, 044 598853, 02 5219338, 09 6296256, 09 1062482                        
e-mail : president@parichart.net


ตะกร้าเถาวัลย์

ผลิตภัณฑ์ (Product) ตะกร้าเถาวัลย์
ประเภทผลิตภัณฑ์ : ของใช้ ของประดับตกแต่ง และของที่ระลึกสถานที่จำหน่าย
กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรตะกร้าเถาวัลย์ 32 ดินแดง หมู่ 13 ต.หนองบัวบาน อ.รัตนบุรี จ.สุรินทร์ 32130
ติดต่อ : นายเลิศ หนองหว้า
โทร :0 4459 9708, 08 6261 7332
e-mail : cddsurin@thaimail.com
 




กล้วยอบสมุนไพร ขนมข้าวพอง


กลุ่มพัฒนาอาชีพห้วยแก้ว
สถานที่ตั้ง 139 หมู่ที่ 14 บ้านผือใหญ่ ตำบลรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์ 32130 โทร 044-599566
ผู้นำชุมชุนและกลุ่ม คุณจรัญ กลิ่นจันทร์






วันอังคารที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ฟุตบอลประเพณี

ฟุตบอลประเพณี >_< " 
                           วันที่ 22 สิงหาคม 2555 ณ สนามศรีณรงค์ มีการเเข่งขันฟูดบอลประเภทนี้ ราชภัฏ - ราชมงคลสุรินทร์ ชิงถ้วยประทานพระเจ้าวรวงค์เธอพระองค์เจ้าโสมสวีพระวรราชาทินัดดามาตุ ครั้งที่ ระหว่างมหาวิทยาราชภัฏสุรินทร์ กับ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์















                      
                         ผลการแข่งขันฟุตบอลอาจารย์หญิง เสมอ 0-0 ฟุตบอลอาจารย์ชาย ราชภัฏสุรินทร์ ชนะ 1-0 และคู่ของนักศึกษาราชภัฏสุรินทร์ ชนะด้วยสกอร์ 2-0




วันอาทิตย์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2555

"วันแม่" To my first and favorite teacher! Happy Mother's Day!


รักจากไหนจะแน่นแท้....
                เท่ารัก "แม่" ไม่มี


ความเป็นมา

       งานวันแม่จัดขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2486 ณ.สวนอัมพร โดยกระทรวงสาธารณสุข แต่ช่วงนั้นเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 งานวันแม่ในปีต่อมาจึงต้องงดไป เมื่อวิกฤติสงครามสงบลง หลายหน่วยงานได้พยายามให้มีวันแม่ขึ้นมาอีก แต่ก็ไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร และมีการเปลี่ยนกำหนดวันแม่ไปหลายครั้ง ต่อมาวันแม่ที่รัฐบาลรับรอง คือวันที่ 15 เมษายน โดยเริ่มจัดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2493 แต่ก็ต้องหยุดลงอีกในหลายปีต่อมา เนื่องจากกระทรวงวัฒนธรรมถูกยุบไป ส่งผลให้สภาวัฒนธรรมแห่งชาติ ซึ่งรับหน้าที่จัดงานวันแม่ขาดผู้สนับสนุน ต่อมาสมาคมครูคาทอลิกแห่งประเทศไทย ได้จัดงานวันแม่ขึ้นอีกครั้ง ในวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2515
แต่จัดได้เพียงปีเดียวเท่านั้น จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2519 คณะกรรมการอำนวยการสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ จึงได้กำหนดวันแม่ขึ้นใหม่ให้เป็นวันที่แน่นอน โดยถือเอาวันเสด็จพระราชสมภพของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ วันที่ 12 สิงหาคมเป็นวันแม่แห่งชาติ และกำหนดให้ดอกไม้สัญลักษณ์ของวันแม่ คือ ดอก
ดอกมะลิ

ดอกมะลิ สัญลักษณ์ของวันแม่

     นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงเป็นสมเด็จพระบรมราชินีนาถในรัชกาลที่ พระนามเดิม หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร เป็นพระธิดาองค์ใหญ่ของหม่อมเจ้านักขัตรมงคล (ภายหลังได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาขึ้นเป็น พลเอกพระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นจันทบุรีสุรนาถ)กับ หม่อมหลวงบัว  กิติยากร เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันศุกร์ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2475 

ณ บ้านของพลเอกเจ้าพระยาวงศานุประพัทธ์ (ม.ร.ว.สท้าน สนิทวงศ์) และท้าววนิดาพิจาริณี บิดาและมารดาของหม่อมหลวงบัว กิติยากร ตั้งอยู่ที่ 1808 ถนนพระรามที่ 6 อำเภอปทุมวัน จ.พระนคร ได้รับพระราชทานนามจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวว่า "สิริกิติ์" มีความหมายว่า "ผู้เป็นศรีแห่งกิติยากร"
   -----------------------------------------------------------------

ของขวัญจากลูกคนนี้ ^___^



มะลิหอมน้อมวางข้างข้างตัก
กรุ่นกลิ่น "รัก" บริสุทธิ์ผุดผ่องใส
แทนทุกคำทุกถ้อยร้อยจากใจ
เป็นมาลัย "กราบแม่" พร้อมน้อมบูชา
กี่พระคุณจากใครอื่นนับหมื่นแสน
อาจทนแทนเปรยเปรียบเทียบคุณค่า
แต่พระคุณ"หนึ่งหยดน้ำนมมารดา"ทั้งสามภพจบหล้า...หาเทียมทัน
ลูกไม่อาจเอ่ยแสดงแถลงถ้อย
หรือเรียงร้อยพจนามาเสกสรรค์
เพื่อบรรยายพระคุณนี้ที่ "อนันต์"
จึงตั้งมั่น "กตัญญุตา" ตลอดไป
หนึ่งคำ "รัก" ลูกรักแม่ แม้ค่าน้อย
ต่างเพชรพลอย ตีราคาค่ามิได้
แต่แม่จ๋า... "รักที่หนึ่ง" ของหัวใจ
มิใช่ใคร "ลูก รัก แม่" แน่นิรันดร
_________^^_________

วันเข้าพรรษา


เทศกาลเข้าพรรษา คือ อะไร?

         วันเข้าพรรษา เป็นวันสำคัญในพุทธศาสนาวันหนึ่ง ที่พระสงฆ์อธิษฐานว่าจะพักประจำอยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่ง ตลอดช่วงฤดูฝนที่มีกำหนดเป็นระยะเวลา 3 เดือน ตามที่พระธรรมวินัยบัญญัติไว้ โดยไม่ไปค้างแรมที่อื่น 

          "เข้าพรรษา" แปลว่า "พักฝน" หมายถึง พระภิกษุสงฆ์ต้องอยู่ประจำ ณ วัดใดวัดหนึ่งระหว่างฤดูฝน โดยเหตุที่พระภิกษุในสมัยพุทธกาล มีหน้าที่จะต้องจาริกโปรดสัตว์ และเผยแผ่พระธรรมคำสั่งสอนแก่ประชาชนไปในที่ต่าง ๆ ไม่จำเป็นต้องมีที่อยู่ประจำ แม้ในฤดูฝน ชาวบ้านจึงตำหนิว่าไปเหยียบข้าวกล้าและพืชอื่น ๆ จนเสียหาย พระพุทธเจ้าจึงทรงวางระเบียบการจำพรรษาให้พระภิกษุอยู่ประจำที่ตลอด 3 เดือน ในฤดูฝน คือ เริ่มตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ของทุกปี เรียกว่า "ปุริมพรรษา" 


          ถ้าปีใดมีเดือน 8 สองครั้ง ก็เลื่อนมาเป็นวันแรม 1 ค่ำ เดือนแปดหลัง และออกพรรษาในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 เรียกว่า "ปัจฉิมพรรษา" เว้นแต่มีกิจธุระคือเมื่อเดินทางไปแล้วไม่สามารถจะกลับได้ในเดียวนั้น ก็ทรงอนุญาตให้ไปแรมคืนได้ คราวหนึ่งไม่เกิน 7 คืน เรียกว่า "สัตตาหะ" หากเกินกำหนดนี้ถือว่าไม่ได้รับประโยชน์แห่งการจำพรรษา จัดว่าพรรษาขาด

          สำหรับข้อยกเว้นให้ภิกษุจำพรรษาที่อื่นได้ โดยไม่ถือเป็นการขาดพรรษา เว้นแต่เกิน 7 วัน ได้แก่
                1.การไปรักษาพยาบาลภิกษุ หรือบิดามารดาที่เจ็บป่วย
                2.การไประงับภิกษุสามเณรที่อยากจะสึกมิให้สึกได้                 3.การไปเพื่อกิจธุระของคณะสงฆ์ เช่น การไปหาอุปกรณ์  มาซ่อมกุฏิ
ที่ชำรุด                     
               4.หากทายกนิมนต์ไปทำบุญ ก็ไปฉลองศรัทธาในการบำเพ็ญกุศลของเขาได้
          นอกจากนี้หากระหว่างเดินทางตรงกับวันหยุดเข้าพรรษาพอดี พระภิกษุสงฆ์เข้ามาทันในหมู่บ้านหรือในเมืองก็พอจะหาที่พักพิงได้ตามสมควร แต่ถ้ามาไม่ทันก็ต้องพึ่งโคนไม้ใหญ่เป็นที่พักแรม ชาวบ้านเห็นพระได้รับความลำบากเช่นนี้ จึงช่วยกันปลูกเพิง เพื่อให้ท่านได้อาศัยพักฝน รวมกันหลาย ๆ องค์ ที่พักดังกล่าวนี้เรียกว่า "วิหาร" แปลว่า ที่อยู่สงฆ์ เมื่อหมดแล้ว พระสงฆ์ท่านออกจาริกตามกิจของท่านครั้ง ถึงหน้าฝนใหม่ท่านก็กลับมาพักอีก เพราะสะดวกดี แต่บางท่านอยู่ประจำเลย บางทีเศรษฐีมีจิตศัรทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ก็เลือกหาสถานที่สงบเงียบไม่ห่างไกลจากชุมชนนัก สร้างที่พัก เรียกว่า "อาราม" ให้เป็นที่อยู่ของสงฆ์ดังเช่นปัจจุบันนี้
      
          ทั้งนี้ โดยปกติเครื่องใช้สอยของพระตามพุทธานุญาตให้มีประจำตัวนั้น มีเพียงอัฏฐบริขาร อันได้แก่ สบง จีวร สังฆาฏิ เข็ม บาตร รัดประคด หม้อกรองน้ำ และมีดโกน และกว่าพระท่านจะหาที่พักแรมได้ บางทีก็ถูกฝนต้นฤดูเปียกปอนมา ชาวบ้านที่ใจบุญจึงถวายผ้าอาบน้ำฝนสำหรับให้ท่านได้ผลัดเปลี่ยน และถวายของจำเป็นแก่กิจประจำวันของท่านเป็นพิเศษในเข้าพรรษา นับเป็นเหตุให้มีประเพณีทำบุญเนื่องในวันนี้สืบมา...
          อย่างไรก็ตาม แม้การเข้าพรรษาจะเป็นเรื่องของพระภิกษุ แต่พุทธศาสนิกชนก็ถือเป็นโอกาสดีที่จะได้ทำบุญรักษาศีล และชำระจิตใจให้ผ่องใส ก่อนวันเข้าพรรษาชาวบ้านก็จะไปช่วยพระทำความสะอาดเสนาสนะ ซ่อมแซมกุฏิวิหารและอื่น ๆ พอถึงวันเข้าพรรษาก็จะไปร่วมทำบุญตักบาตร ถวายเครื่องสักการะบูชา ดอกไม้ ธูปเทียน และเครื่องใช้ เช่น สบู่ ยาสีฟัน เป็นต้น พร้อมฟังเทศน์ ฟังธรรม และรักษาอุโบสถศีลกันที่วัด บางคนอาจตั้งใจงดเว้นอบายมุขต่าง ๆ เป็นกรณีพิเศษ เช่น งดเสพสุรา งดฆ่าสัตว์ เป็นต้น อนึ่ง บิดามารดามักจะจัดพิธีอุปสมบทให้บุตรหลานของตน โดยถือกันว่าการเข้าบวชเรียนและอยู่จำพรรษาในระหว่างนี้จะได้รับอานิสงส์อย่างสูง 

การทำบุญถวายพระหลัก ๆ ที่ได้กุศลแรง คือ
 ๑. การเตรียมของ และจัดเอง
๒. การเตรียมข้าวของเครื่องใช้ที่จำเป็นกับการอยู่จำ
พรรษา(ถวายเป็นสังฆทาน)
๓. ผ้าไตรจีวร ๑ เมตร ๙๐ เซ็นติเมตร หรือพระที่
ท่านมีองค์ใหญ่หน่อยก็ ๒ เมตรคูณ ๓ เมตร
๔. ซื้อปลาในตลาดที่กำลังโดนฆ่า
๕. ชำระหนี้สงฆ์เอาเงินใส่ซองไว้นะคะแล้วแต่ศรัทธา(อธิฐาน
อโหสิกรรมด้วยนะคะ)
๖. เทียนเข้าพรรษา ๑ คู่
๗. ธูป สัก ๑ ห่อ

สุรินทร์จัดยิ่งใหญ่ตักบาตรบนหลังช้าง งดเหล้าเข้าพรรษา

                               


บรรยากาศการ
ของการทำบุญในหลายๆ วัดของ จ.สุรินทร์  เป็นไปด้วยความคึกคัก โดยเฉพาะที่วัดบูรพาราม อ.เมือง จ.สุรินทร์ ประชาชน พุทธศาสนิกชนจำนวนมาก ทั้งเด็ก วัยรุ่นหนุ่มสาว วัยทำงาน ที่ได้หยุดงาน และเดินทางกลับ จ.สุรินทร์ บ้านเกิด เยี่ยมครอบครัว ได้พาครอบครัว และผู้สูงอายุ ต่างทยอยพากันเดินทางกราบไหว้สักการะขอพรจากพระบรมสารีริกธาตุขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ภายในโบสถ์วัดบูรพาราม ไหว้อัฐิธาตุ หุ่นขี้ผึ้งหลวงปู่ดูลย์ อตุโล พระเกจิอาจาย์ชื่อดังสายกรรมฐาน
           นอกจากนี้ ทางวัดยังจัดให้มีกิจกรรมทำบุญรดน้ำมนต์ เพื่อความเป็นสิริมงคล ถวายสังฆทาน ตักบาตรพระประจำวันเกิด และทอดผ้าป่า 12 นักษัตร ประจำปีเกิด รวมทั้งทำบุญปล่อยนก ซึ่งต่างได้รับความสนใจจากประชาชนที่ต่างพาครอบครัว ญาติพี่น้อง เพื่อนฝูง และลูกหลาน มาร่วมทำบุญ จนภายในวัดดูคับแคบไปถนัดตา