วันอาทิตย์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2555

งานช้าง "งานประจำปีของชาวจังหวัดสุรินทร์"

งานช้างจังหวัดสุรินทร์

สุรินทร์ถิ่นช้างใหญ่ ผ้าไหมงาม
ประคำสวย ร่ำรวยปราสาท
ผักกาดหวานข้าวสารหอม งามพร้อมวัฒนธรรม


ประวัติ / ความเป็นมา

          ในสมัยโบราณในแถบพื้นที่ของจังหวัดสุรินทร์ มีช้างอาศัยอยู่มากมาย ขณะเดียวกันจังหวัดสุรินทร์ก็มีชาวพื้นเมืองที่มีความชำนาญในการจับช้างป่ามาฝึกหัดทำงาน เรียกว่า พวก "ส่วย" ชาวส่วยเป็นชาวพื้นเมืองที่กล่าวกันว่า เป็นผู้ที่สืบเชื้อสายมาจากบรรพบุรุษที่ได้อพยพมาจากเมืองอัตขันแสนแป ซึ่งเป็นเมืองที่อยู่ใกล้กับเมืองจำปาศักดิ์ของประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวปัจจุบัน ชาวพื้นเมืองเหล่านี้เป็นเผ่าที่ชอบเลี้ยงช้าง เป็นผู้ริเริ่มในการจับช้างป่ามาฝึกเพื่อใช้งานและเป็นพาหนะเดินทางขนส่งในท้องถิ่น การไปจับช้างในป่าลึกโดยใช้ช้างต่อ เรียกว่า "โพนช้าง"ที่หมู่บ้านตากลาง ตำบลกระโพ อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ ชาวส่วยกลุ่มนี้ได้เข้าไปอยู่บนเนิน เขตรอยต่อระหว่าง ดงสายทอและดงรูดินใกล้ๆ กับบริเวณที่ลำน้ำชี้ (ชีน้อย) อันเป็นลำน้ำที่แบ่งเขตระหว่างจังหวัดสุรินทร์และจังหวัดบุรีรัมย์ และลำน้ำมูลไหลมาบรรจบกัน โดยสภาพพื้นที่ดังกล่าวในอดีตได้ตัดขาดจากโลกภายนอกเกือบสิ้นเชิง ด้วยเหตุนี้การผสมกลมกลืนกับวัฒนธรรมอื่นจึงมีน้อย ชาวส่วยเกือบทั้งหมดในเขตพื้นที่นี้ ยังมีการรักษาขนบธรรมเนียมประเพณี และวิถีชีวิตแบบดั้งเดิมของตนเองอยู่ โดยเฉพาะการเลี้ยงช้าง เป็นอาชีพหลักที่สำคัญที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษในสมัยโบราณ ซึ่งไม่อาจสืบค้นได้ว่ามีมาตั้งแต่สมัยใด โดยชาวส่วยเหล่านี้จะพากันออกไปจับช้างในเขตประเทศกัมพูชามาฝึกให้สามารถใช้งานได้แล้วขายให้กับพ่อค้าจากภาคเหนือของประเทศไทย เพื่อนำไปลากไม้ในป่า

จนกระทั่งเมื่อปี พ.ศ.2502 ได้เกิดพิพาทระหว่างประเทศไทยกับกัมพูชา การเดินทางไปจับช้างจึงยุติลง และในที่สุดก็ได้ยุติลงอย่างสิ้นเชิงในราวปี พ.ศ.2506 ในขณะเดียวกันชาวบ้านบางส่วนได้หันมาฝึกช้างจากการเป็นสัตว์ใช้งานมาเป็นสัตว์เลี้ยงในบ้านเช่นเดียวกับ แมวและสุนัข และฝึกสอนให้แสดงกิริยาต่างๆ เลียนแบบคน เพื่อจะได้นำไปแสดงในที่ต่างๆ แทนการขายไปทั้งตัว จนกระทั่งทางจังหวัดสุรินทร์ และองค์การส่งเสริมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ชื่อในขณะนั้น)ได้มองเห็นความสำคัญที่จะส่งเสริมการแสดงของช้างเป็นงานประจำปี ของจังหวัดสุรินทร์และประเทศไทยขึ้น โดยจัดเป็นประจำทุกปีตั้งแต่ พ.ศ.2504  เป็นต้นมา   แต่ก่อนที่จะมีงานช้างซึ่งถือเป็นงานประจำปีของจังหวัดสุรินทร์ซึ่งได้จัดติดต่อกันมาเกือบ 40กว่าปีล่วงมาแล้ว นายท้าว ศาลางาม หมอช้างระดับครู ขาใหญ่แห่งหมู่บ้านกระเบื้องใหญ่ อำเภอชุมพลบุรี ได้เล่าถึงความเป็นมาของงานช้างว่า..
      ในปี พ.ศ.2498 นั้นมีข่าวลือว่า จะมีเครื่องบินเฮลิคอปเตอร์มาลงที่หมู่บ้านตากลางหรือหมู่บ้านช้างในปัจจุบัน ด้วยเหตุที่ชาวบ้านนานๆ จะได้เห็นยวดยานพาหนะประเภทรถยนต์ และเครื่องบินผ่านไปในเขตพื้นที่อันเป็นที่อยู่อาศัยของตน จึงแตกตื่นไปทั่วตำบล มีการชักชวนกันไปดูเครื่องบิน เฮลิคอปเตอร์ และเนื่องจากชาวบ้านในตำบลกระโพ เกือบทุกหมู่บ้านมีอาชีพสำคัญคือการเลี้ยงและออกจับช้างป่ามาฝึกขาย จึงมีช้างเกือบทุกครัวเรือน โดยเป็นทั้งพาหนะและสินทรัพย์ที่สำคัญของชาวบ้านแถบนั้นการเดินทางไปดูเฮลิคอปเตอร์ในครั้งนั้นจึงใช้ช้างเป็นพาหนะเมื่อไปถึงลานจอดเฮลิคอปเตอร์แล้วปรากฏว่ามีช้างจำนวนมากมายรวมกันแล้วนับได้ประมาณ 300 เชือก สร้างความตื่นเต้นประทับใจแก่ผู้ที่ได้พบเห็นเป็นอย่างมาก
  จนกระทั่งในปี พ.ศ.2503 นายวินัย สุวรรณกาศ นายอำเภอท่าตูม สมัยนั้น ได้ให้นำช้างเหล่านี้มารวมตัวกันอีกครั้งหนึ่ง เพื่อร่วมแสดงในงานฉลองที่ว่าการอำเภอหลังใหม่ ณ บริเวณสนามบินเก่าท่าตูม คือ บริเวณโรงเรียนท่าตูมประชาเสริมวิทย์ในปัจจุบัน การแสดงครั้งนั้นได้จัดขึ้นในวันที่ 19 พฤศจิกายน 2503

        การเดินขบวนพาเหรดของช้าง การแสดงการคล้องช้าง และการแข่งขันช้างวิ่งเร็ว มีช้างเข้าร่วมในการแสดงประมาณ 60เชือก จากการแสดงคราวนั้น ทำให้มีการประชาสัมพันธ์แพร่ภาพทั้งทางโทรทัศน์และหนังสือพิมพ์ เผยแพร่ไปทั่ว ทำให้เกิดความสนใจทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ ทางองค์การส่งเสริมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ชื่อเดิมของ ททท.)จึงเสนอต่อกระทรวงมหาดไทยว่าการแสดงของช้างที่จังหวัดสุรินทร์ในครั้งนั้น นับว่าเป็นงานที่ยิ่งใหญ่มากของจังหวัด และประชาชนทั่วไปก็ให้ความสนใจเป็นอย่างมาก แต่มีโอกาสหาชมได้น้อย จึงเห็นสมควรที่จะเผยแพร่งานแสดงของช้างไปสู่วงกว้าง โดยเสนอให้งานดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของงานประเพณีของจังหวัด และให้มีการจัดขึ้นเป็นประจำทุกปีโดยมีการกำหนดวันให้แน่นอนตามปฏิทินทางสุริยคติ และจัดรูปแบบงานให้มีความรัดกุมมากขึ้น เพื่อจะได้มีเวลาในการโฆษณาเชิญชวนไปยังต่างประเทศ อันเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนการท่องเที่ยวของประเทศให้แพร่หลายไปด้วย  ดังนั้นในวันที่ 18 พฤศจิกายน 2504 จังหวัดสุรินทร์จึงได้ร่วมกับองค์การส่งเสริมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย จัดงานแสดงของช้างขึ้น เป็นงานประจำปีของจังหวัดสุรินทร์อีกครั้งหนึ่ง โดยยังคงจัดที่อำเภอท่าตูม ซึ่งอยู่ห่างจากจังหวัดสุรินทร์ไปทางทิศเหนือ ประมาณ 52 กิโลเมตรจากผลการจัดงานแสดงของช้างดังกล่าว ได้รับความสนใจจากชาวต่างประเทศอย่างกว้างขวาง ทางองค์การส่งเสริมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย จึงได้รายงานเสนอต่อคณะรัฐมนตรี เพื่อพิจารณาให้งานเสดงของช้างเป็นงานประจำปีของชาติ และคณะรัฐมนตรี ได้มีการประชุมเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2505 เป็นต้นมา งานแสดงของช้างจังหวัดสุรินทร์จึงกลายเป็นงานประจำปีของชาติ และเป็นงานประเพณีที่มีความสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาจังหวัดสุรินทร์จนกระทั่งปัจจุบัน


กำหนดงาน

       กำหนดให้มีขึ้นในวันเสาร์ อาทิตย์ สัปดาห์ที่ 3ของเดือนพฤศจิกายนของทุกปี สามารถตรวจสอบรายละเอียดได้ที่ www.tat.or.th/festival


กิจกรรม / พิธี
          การแสดงของช้างมีด้วยกันทั้งหมด 8 ฉาก อาทิเช่น ชุดโขลงช้าง พิธีเซ่นผีปะกำ การโพนช้าง และการฝึกช้างป่า ช้างทำงาน และการละเล่นของช้าง ประเพณีวัฒนธรรมของส่วยหรือชนชาวกุย ขบวนช้างแห่นาค ช้างแข่งขันกีฬา ช้างเตะตะกร้อ ช้างชกมวย การประกวดช้างสวยงาม และการแสดงของช้างอื่นๆ อีกมากมาย  นอกจากการแสดงของช้างแล้วยังมีการจัดนิทรรศการ การประกวดผลผลิตทางการเกษตร การประกวดของดีเมืองสุรินทร์ การออกสลากกาชาด การออกร้านงานช้างแฟร์ ทำให้ผู้ร่วมงานครั้งนี้สนุกสนานกันถ้วนหน้า

          การแสดงของช้างเริ่มด้วยฉากแรกชื่อว่า "จ่าโขลง" แสดงให้เห็นถึงชีวิตของช้างป่าตามธรรมชาติซึ่งอยู่รวมกัน การแสดงครั้งนี้ก็จะปล่อยช้างออกมาบริเวณสนามแสดงช้างหลายสิบเชือก โดยไม่มีควาญช้างบังคับ เพื่อให้สมจริงสมจังกับการเป็นช้างป่า เมื่อมีช้างป่าชาวบ้านก็มีความต้องการที่จะจับช้างมาเลี้ยงไว้ใช้งาน แต่การจับช้างของชาวบ้านไม่ใช่อยู่ๆ ก็จับมาเลย ต้องมีการทำพิธีกันเสียก่อน ฉากต่อมาจึงมีชื่อชุดว่า "กวย" ฉากนี้แสดงให้เห็นว่าชาวบ้านต้องทำพิธีบวงสรวงเซ่นไหว้ผีปะกำ ก่อนออกไปคล้องช้างตามความเชื่อที่ว่า ช้างแต่ละเชือกมีผีปะกำดูแลอยู่ ดังนั้นหน้าบ้านของคนเลี้ยงช้างทุกบ้านจะมีศาลปะกำเพื่อไว้เป็นที่เก็บเชือกกำปะกำและเครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเซ่นไหว้ โดยแสดงให้เห็นถึงการประกอบพิธีอย่างโบราณ ด้วยการให้หมอเฒ่า หรือปะกำหลวงมาแสดงให้ผู้ชมมีความรู้สึกร่วมไปด้วย แต่น่าเสียดายที่ผู้ชมกับผู้แสดงอยู่ห่างกันมาก ทำให้ไม่เห็นรายละเอียดบางอย่างอย่างใกล้ชิด เช่น การสวด สีหน้า ท่าทางของผู้ประกอบพิธี

           เมื่อเสร็จพิธีดังกล่าวชาวบ้านก็จะออกไปคล้องช้างกันการเข้าไปคล้องช้างในป่าจะกินเวลานานถึง 2-3เดือน ฉะนั้นผู้ที่คล้องช้างจึงต้องเป็นผู้ชาย และผู้ที่คล้องช้างได้ก็จะเป็นที่ยอมรับนับถือในความเป็นชายเป็นเกียรติแก่วงศ์ตระกูล เป็นที่หมายปองแก่บรรดาสาวๆ และที่สำคัญช้างเชือกหนึ่งมีราคาไม่ใช่น้อย ดังนั้น การคล้องช้างได้ถือเป็นการยกฐานะของคนที่คล้องช้างได้ไปในตัวด้วย    ฉากต่อมาชื่อชุดว่า "จากป่าสู่บ้าน" เป็นการแสดงให้เห็นถึงวิธีการคล้องช้าง ผู้ชำนาญจะคล้องช้างที่เป็นแม่ลูกอ่อน เพราะถ้าหากคล้องลูกช้างได้ก็เหมือนกับได้ตัวแม่ด้วย ที่เป็นเช่นนี้เพราะว่าแม่ช้างจะห่วงลูกน้อยทำให้ไม่ยอมไปไหน การแสดงฉากนี้คนก็ลุ้นอยากให้คนคล้องช้างได้ หลายคนก็ลุ้นให้ช้างหลุดรอดไปได้ ซึ่งคนดูทุกคนจะตื่นเต้นสนุกสนาน การแสดงฉากนี้ดูเหมือนว่าจะคล้องช้างไม่ได้เสียมากกว่า เพราะช้างที่แสดงเป็นช้างบ้านที่ฉลาด ได้รับการฝึกฝนมาแล้วจึงรู้วิธีหลบหลีกเป็นอย่างดี คนที่ลุ้นให้ช้างรอดก็โล่งใจกันเป็นแถว

"สร้างบ้าน แปงเมือง" เป็นการแสดงในฉากต่อมา โดยนำช้างออกมาแสดงความสามารถทั้งการใช้งาน เช่น การลากซุง และการแสดงตามคำสั่งต่างๆ ซึ่งก็น่ารัก น่าเอ็นดู เพราะช้างตัวใหญ่อุ้ยอ้ายการที่จะต้องมาแสดงท่าทางเลียนแบบคน ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย ไม่ว่าจะเป็นลูกช้างไต่ราว การให้ช้างนั่งบนถังในท่านั่งเหมือนคนหรือเดินสองขาเหมือนคน ในขณะที่การแสดงของช้างดำเนินอยู่ ก็จะมีเด็กๆ ทั้งผู้หญิงผู้ชายแต่งกายชุดพื้นบ้านมาแสดงการละเล่นของเด็กในสมัยก่อนที่มักจะหาของเล่นจากวัสดุในท้องถิ่น ไม่ว่าจะเป็นเดินกะลา ล้อไม้ ม้าก้านกล้วย เดินโทงเทง ซึ่งหาดูได้ยากในปัจจุบัน

แต่ที่น่าชมและชอบใจของคนดูทั้งสนามก็คงจะเป็นช้างชกมวย ไม่ใช่ช้างชกกับช้าง แต่เป็นช้างกับคน โดยเขาจะใส่นวมที่งวงช้างเพื่อให้ชกแทนการใช้มืออย่างคน การชกเป็นไปอย่างดุเดือดเพราะแต่ละหมัด(งวง)ของช้างหนักหน่วง จนทำให้คนต้องลงไปนอนให้กรรมการนับหลายครั้ง และก็ปรากฏว่าช้างชนะน็อคไปตามระเบียบ ดัวยหมัดฮุคอย่างรุนแรง เป็นที่สนุกสนานเฮฮาของคนดู  หลังจากการแสดงอันแสนรู้ของช้างผ่านไปแล้ว ก็เป็นการแสดงคนในชื่อชุดว่า "ประเพณี" เป็นการแสดงให้เห็นถึงวัฒนธรรมประเพณีของชาวสุรินทร์ คือ การแสดงเรืออันเร และการแห่บั้งไฟ  การแสดงเรืออันเร ประกอบด้วยดนตรีพื้นบ้านคือ กันตรึม การรำคล้ายกับการรำลาวกระทบไม้ การแห่บั้งไฟ เป็นประเพณีของชาวอีสานที่แห่บูชาพญาแถนเพื่อขอฝน ขบวนแห่ในวันนั้นมีการจัดไว้อย่างสวยงาม มีผู้ร่วมขบวนนับร้อย ทุกคนล้วนแต่งกายสีสันสดใสด้วยผ้าพื้นเมือง ฝีมือการทอของชาวบ้านเอง

           การบวชนาค เป็นอีกฉากหนึ่งที่แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของช้าง เพราะคหบดีในสมัยก่อนนิยมใช้ช้างร่วมแห่นำในขบวนแห่นาค และการแห่นาคที่จังหวัดสุรินทร์จะต่างจากที่อื่นตรงที่นิยมให้มีการรำมวยไทยนำหน้าขบวนแห่นาค และมีวงมโหรีอยู่บนหลังช้าง ปิดขบวนด้วยระนาด ฆ้อง ปี่ และตะโพน เมื่อบวชนาคแล้วต้องมีการฉลองพระใหม่ ก็ได้มีการแสดงชื่อชุดว่า "ฉลองพระ" ซึ่งสมัยก่อนการฉลองพระเป็นการแข่งขันและเล่นเกมของคน แต่ต่อมาใช้ช้างเล่นแทน ซึ่งก็ให้ความสนุกสนานไม่แพ้คนเล่นเอง การแข่งขันของช้างมีหลายเกม คือ ช้างวิ่งแข่ง ช้างเตะฟุตบอล ช้างเก็บของ สิ่งเหล่านี้จะแสดงให้เห็นว่า  ช้างเชือกไหนฉลาดและเชื่อฟังคำสั่งของควาญช้าง โดยเฉพาะเขาวางน้ำอัดลม แตงโม กระติ๊บข้าว กล้วย ช้างบางเชือกก็เก็บของเหล่านี้ให้ควาญช้างทั้งหมด แต่ก็มีบางเชือกเก็บเข้าปากตัวเอง เพราะของที่เก็บไม่ว่าจะเป็นกล้วยหรือแตงโม ล้วนแต่เป็นของโปรดของช้างทั้งนั้น ซึ่งก็สร้างความครื้นเครงให้กับคนดูพอสมควรในความเจ้าเล่ห์ของช้างบางเชือกที่สนุกสนานที่สุดเห็นจะเป็นตอนช้างเตะฟุตบอล ซึ่งแบ่งช้างออกเป็น 2ทีม มีฟุตบอลขนาดใหญ่ เหมาะสมกับตัวของช้างมาเตะกันจริงๆ เกมการแข่งขันจะดูวุ่นวาย เพราะช้างบางตัวขี้โกงใช้งวงอุ้มลูกฟุตบอล แทนที่จะเตะฟุตบอล สร้างความขบขันให้กับคนดูเป็นอย่างมากและการแสดงที่ยิ่งใหญ่ตระการตาก็มาถึง ในฉากที่ชื่อว่า "บารมีปกเกล้า"ฉากนี้แสดงให้เห็นถึงขบวนพยุหยาตราทัพ แสนยานุภาพพระมหากษัตริย์ที่ทรงปกป้องบ้านเมืองให้อยู่เย็นเป็นสุขในอดีต ซึ่งมีช้างเป็นกำลังสำคัญในการแสดงแสนยานุภาพนั้น ฉากนี้นับเป็นฉากที่ยิ่งใหญ่ที่สุด ประกอบด้วยผู้แสดงนับพัน การแต่งกายก็สมจริง ทำให้เป็นที่ตื่นตาตื่นใจกับนักท่องเที่ยวที่เข้าชมเป็นอย่างยิ่ง

-----------------------------^ ooooooooo ^------------------------------

วันอังคารที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ผลิตภัณฑ์ชุมชน รัตนบุรี


สินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์


ความเป็นมาโครงการ

                  “หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์เป็นแนวทางประการหนึ่ง ที่จะสร้างความเจริญแก่ชุมชน ให้สามารถยกระดับฐานะความเป็นอยู่ของคนในชุมชนให้ดีขึ้น โดยการผลิตหรือจัดการทรัพยากรที่มีอยู่ในท้องถิ่น ให้กลายเป็นสินค้าที่มีคุณภาพ มีจุดเด่นเป็นเอกลักษณ์ของตนเองที่ สอดคล้องกับวัฒนธรรมในแต่ละท้องถิ่น  สามารถจำหน่ายในตลาดทั้งภายในและต่างประเทศ โดยมีหลักการ พื้นฐาน 3 ประการ คือ
                  1) ภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่สากล (Local Yet Global)
                  2) พึ่งตนเองและคิดอย่างสร้างสรรค์ (Self-Reliance-Creativity)
                  3) การสร้างทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource Development)
                  ผลิตภัณฑ์ ไม่ได้หมายถึงตัวสินค้าเพียงอย่างเดียวแต่เป็นกระบวนการทางความคิด รวมถึงการบริการ การดูแลการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การรักษาภูมิปัญญาไทย การท่องเที่ยว ศิลปวัฒนธรรม ประเพณี การต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่น การแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อให้กลายเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ มีจุดเด่น จุดขายที่รู้จักกันแพร่หลายไปทั่วประเทศและทั่วโลก     1) สร้างงาน สร้างรายได้ แก่ชุมชน     2) สร้างความเข้มแข็งแก่ชุมชน ให้สามารถคิดเอง ทำเอง ในการพัฒนาท้องถิ่น     3) ส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น     4) ส่งเสริมการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์     5) ส่งเสริมความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ของชุมชน ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ โดยสอดคล้องกับวิถีชีวิตและวัฒนธรรมในท้องถิ่น



วัตถุประสงค์
               จากนโยบายของรัฐบาล ที่แถลงต่อรัฐสภา และตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยคณะกรรมการอำนวยการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์แห่งชาติ พ.ศ. 2544 การดำเนินงานตามโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อ
การพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์
               นตผ.จังหวัด ได้ดำเนินการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการการพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ จำนวน 1 คณะ  ให้มีหน้าที่วางแผนพัฒนาผลิตภัณฑ์ ด้านการแปรรูป ออกแบบบรรจุภัณฑ์ การบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ให้ได้มาตรฐาน ตลอดจนติดตามประเมินและรายงานความก้าวหน้าให้ นตผ.จังหวัดทราบทุกระยะ  

สินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ของอำเภอรัตนบุรี จ.สุรินทร์ อาทิ

โสร่งหางกระรอก 



โสร่งหางกระรอก เป็นผ้าไหมขึ้นชื่อของชาวอำเภอรัตนบุรีกลุ่มครุฑสุวรรณไหมไทยสถานที่ตั้ง: 66/13 หมู่ 8 ถนนศรีนคร ตำบลรัตนบุรี อำเภอรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์ 32130
ผู้นำชุมชนและกลุ่ม :อรนุช ครุฑสุวรรณ    โทร: 044-599047,081-8783374



ดอกกุหลาบจากใบยางพารา

ผลิตภัณฑ์ (Product) Bouquet ดอกกุหลาบจากใบยางพารา
วัตถุดิบที่ใช้
ใบยางพารา, แจกันดินเผา
สถานที่จำหน่าย
กลุ่มหัตถกรรมไผ่พัฒนา
เลขที่ 114 หมู่ที่ 9 บ้านไผ่พัฒนา ตำบลไผ่ อำเภอรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์ 33000
ติดต่อ : นางปาริชาต ช่วยวัฒนะ
โทร : 044 536369, 044 598853, 02 5219338, 09 6296256, 09 1062482                        
e-mail : president@parichart.net


ตะกร้าเถาวัลย์

ผลิตภัณฑ์ (Product) ตะกร้าเถาวัลย์
ประเภทผลิตภัณฑ์ : ของใช้ ของประดับตกแต่ง และของที่ระลึกสถานที่จำหน่าย
กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรตะกร้าเถาวัลย์ 32 ดินแดง หมู่ 13 ต.หนองบัวบาน อ.รัตนบุรี จ.สุรินทร์ 32130
ติดต่อ : นายเลิศ หนองหว้า
โทร :0 4459 9708, 08 6261 7332
e-mail : cddsurin@thaimail.com
 




กล้วยอบสมุนไพร ขนมข้าวพอง


กลุ่มพัฒนาอาชีพห้วยแก้ว
สถานที่ตั้ง 139 หมู่ที่ 14 บ้านผือใหญ่ ตำบลรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์ 32130 โทร 044-599566
ผู้นำชุมชุนและกลุ่ม คุณจรัญ กลิ่นจันทร์






วันอังคารที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ฟุตบอลประเพณี

ฟุตบอลประเพณี >_< " 
                           วันที่ 22 สิงหาคม 2555 ณ สนามศรีณรงค์ มีการเเข่งขันฟูดบอลประเภทนี้ ราชภัฏ - ราชมงคลสุรินทร์ ชิงถ้วยประทานพระเจ้าวรวงค์เธอพระองค์เจ้าโสมสวีพระวรราชาทินัดดามาตุ ครั้งที่ ระหว่างมหาวิทยาราชภัฏสุรินทร์ กับ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์















                      
                         ผลการแข่งขันฟุตบอลอาจารย์หญิง เสมอ 0-0 ฟุตบอลอาจารย์ชาย ราชภัฏสุรินทร์ ชนะ 1-0 และคู่ของนักศึกษาราชภัฏสุรินทร์ ชนะด้วยสกอร์ 2-0




วันอาทิตย์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2555

"วันแม่" To my first and favorite teacher! Happy Mother's Day!


รักจากไหนจะแน่นแท้....
                เท่ารัก "แม่" ไม่มี


ความเป็นมา

       งานวันแม่จัดขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2486 ณ.สวนอัมพร โดยกระทรวงสาธารณสุข แต่ช่วงนั้นเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 งานวันแม่ในปีต่อมาจึงต้องงดไป เมื่อวิกฤติสงครามสงบลง หลายหน่วยงานได้พยายามให้มีวันแม่ขึ้นมาอีก แต่ก็ไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร และมีการเปลี่ยนกำหนดวันแม่ไปหลายครั้ง ต่อมาวันแม่ที่รัฐบาลรับรอง คือวันที่ 15 เมษายน โดยเริ่มจัดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2493 แต่ก็ต้องหยุดลงอีกในหลายปีต่อมา เนื่องจากกระทรวงวัฒนธรรมถูกยุบไป ส่งผลให้สภาวัฒนธรรมแห่งชาติ ซึ่งรับหน้าที่จัดงานวันแม่ขาดผู้สนับสนุน ต่อมาสมาคมครูคาทอลิกแห่งประเทศไทย ได้จัดงานวันแม่ขึ้นอีกครั้ง ในวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2515
แต่จัดได้เพียงปีเดียวเท่านั้น จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2519 คณะกรรมการอำนวยการสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ จึงได้กำหนดวันแม่ขึ้นใหม่ให้เป็นวันที่แน่นอน โดยถือเอาวันเสด็จพระราชสมภพของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ วันที่ 12 สิงหาคมเป็นวันแม่แห่งชาติ และกำหนดให้ดอกไม้สัญลักษณ์ของวันแม่ คือ ดอก
ดอกมะลิ

ดอกมะลิ สัญลักษณ์ของวันแม่

     นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงเป็นสมเด็จพระบรมราชินีนาถในรัชกาลที่ พระนามเดิม หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร เป็นพระธิดาองค์ใหญ่ของหม่อมเจ้านักขัตรมงคล (ภายหลังได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาขึ้นเป็น พลเอกพระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นจันทบุรีสุรนาถ)กับ หม่อมหลวงบัว  กิติยากร เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันศุกร์ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2475 

ณ บ้านของพลเอกเจ้าพระยาวงศานุประพัทธ์ (ม.ร.ว.สท้าน สนิทวงศ์) และท้าววนิดาพิจาริณี บิดาและมารดาของหม่อมหลวงบัว กิติยากร ตั้งอยู่ที่ 1808 ถนนพระรามที่ 6 อำเภอปทุมวัน จ.พระนคร ได้รับพระราชทานนามจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวว่า "สิริกิติ์" มีความหมายว่า "ผู้เป็นศรีแห่งกิติยากร"
   -----------------------------------------------------------------

ของขวัญจากลูกคนนี้ ^___^



มะลิหอมน้อมวางข้างข้างตัก
กรุ่นกลิ่น "รัก" บริสุทธิ์ผุดผ่องใส
แทนทุกคำทุกถ้อยร้อยจากใจ
เป็นมาลัย "กราบแม่" พร้อมน้อมบูชา
กี่พระคุณจากใครอื่นนับหมื่นแสน
อาจทนแทนเปรยเปรียบเทียบคุณค่า
แต่พระคุณ"หนึ่งหยดน้ำนมมารดา"ทั้งสามภพจบหล้า...หาเทียมทัน
ลูกไม่อาจเอ่ยแสดงแถลงถ้อย
หรือเรียงร้อยพจนามาเสกสรรค์
เพื่อบรรยายพระคุณนี้ที่ "อนันต์"
จึงตั้งมั่น "กตัญญุตา" ตลอดไป
หนึ่งคำ "รัก" ลูกรักแม่ แม้ค่าน้อย
ต่างเพชรพลอย ตีราคาค่ามิได้
แต่แม่จ๋า... "รักที่หนึ่ง" ของหัวใจ
มิใช่ใคร "ลูก รัก แม่" แน่นิรันดร
_________^^_________

วันเข้าพรรษา


เทศกาลเข้าพรรษา คือ อะไร?

         วันเข้าพรรษา เป็นวันสำคัญในพุทธศาสนาวันหนึ่ง ที่พระสงฆ์อธิษฐานว่าจะพักประจำอยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่ง ตลอดช่วงฤดูฝนที่มีกำหนดเป็นระยะเวลา 3 เดือน ตามที่พระธรรมวินัยบัญญัติไว้ โดยไม่ไปค้างแรมที่อื่น 

          "เข้าพรรษา" แปลว่า "พักฝน" หมายถึง พระภิกษุสงฆ์ต้องอยู่ประจำ ณ วัดใดวัดหนึ่งระหว่างฤดูฝน โดยเหตุที่พระภิกษุในสมัยพุทธกาล มีหน้าที่จะต้องจาริกโปรดสัตว์ และเผยแผ่พระธรรมคำสั่งสอนแก่ประชาชนไปในที่ต่าง ๆ ไม่จำเป็นต้องมีที่อยู่ประจำ แม้ในฤดูฝน ชาวบ้านจึงตำหนิว่าไปเหยียบข้าวกล้าและพืชอื่น ๆ จนเสียหาย พระพุทธเจ้าจึงทรงวางระเบียบการจำพรรษาให้พระภิกษุอยู่ประจำที่ตลอด 3 เดือน ในฤดูฝน คือ เริ่มตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ของทุกปี เรียกว่า "ปุริมพรรษา" 


          ถ้าปีใดมีเดือน 8 สองครั้ง ก็เลื่อนมาเป็นวันแรม 1 ค่ำ เดือนแปดหลัง และออกพรรษาในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 เรียกว่า "ปัจฉิมพรรษา" เว้นแต่มีกิจธุระคือเมื่อเดินทางไปแล้วไม่สามารถจะกลับได้ในเดียวนั้น ก็ทรงอนุญาตให้ไปแรมคืนได้ คราวหนึ่งไม่เกิน 7 คืน เรียกว่า "สัตตาหะ" หากเกินกำหนดนี้ถือว่าไม่ได้รับประโยชน์แห่งการจำพรรษา จัดว่าพรรษาขาด

          สำหรับข้อยกเว้นให้ภิกษุจำพรรษาที่อื่นได้ โดยไม่ถือเป็นการขาดพรรษา เว้นแต่เกิน 7 วัน ได้แก่
                1.การไปรักษาพยาบาลภิกษุ หรือบิดามารดาที่เจ็บป่วย
                2.การไประงับภิกษุสามเณรที่อยากจะสึกมิให้สึกได้                 3.การไปเพื่อกิจธุระของคณะสงฆ์ เช่น การไปหาอุปกรณ์  มาซ่อมกุฏิ
ที่ชำรุด                     
               4.หากทายกนิมนต์ไปทำบุญ ก็ไปฉลองศรัทธาในการบำเพ็ญกุศลของเขาได้
          นอกจากนี้หากระหว่างเดินทางตรงกับวันหยุดเข้าพรรษาพอดี พระภิกษุสงฆ์เข้ามาทันในหมู่บ้านหรือในเมืองก็พอจะหาที่พักพิงได้ตามสมควร แต่ถ้ามาไม่ทันก็ต้องพึ่งโคนไม้ใหญ่เป็นที่พักแรม ชาวบ้านเห็นพระได้รับความลำบากเช่นนี้ จึงช่วยกันปลูกเพิง เพื่อให้ท่านได้อาศัยพักฝน รวมกันหลาย ๆ องค์ ที่พักดังกล่าวนี้เรียกว่า "วิหาร" แปลว่า ที่อยู่สงฆ์ เมื่อหมดแล้ว พระสงฆ์ท่านออกจาริกตามกิจของท่านครั้ง ถึงหน้าฝนใหม่ท่านก็กลับมาพักอีก เพราะสะดวกดี แต่บางท่านอยู่ประจำเลย บางทีเศรษฐีมีจิตศัรทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ก็เลือกหาสถานที่สงบเงียบไม่ห่างไกลจากชุมชนนัก สร้างที่พัก เรียกว่า "อาราม" ให้เป็นที่อยู่ของสงฆ์ดังเช่นปัจจุบันนี้
      
          ทั้งนี้ โดยปกติเครื่องใช้สอยของพระตามพุทธานุญาตให้มีประจำตัวนั้น มีเพียงอัฏฐบริขาร อันได้แก่ สบง จีวร สังฆาฏิ เข็ม บาตร รัดประคด หม้อกรองน้ำ และมีดโกน และกว่าพระท่านจะหาที่พักแรมได้ บางทีก็ถูกฝนต้นฤดูเปียกปอนมา ชาวบ้านที่ใจบุญจึงถวายผ้าอาบน้ำฝนสำหรับให้ท่านได้ผลัดเปลี่ยน และถวายของจำเป็นแก่กิจประจำวันของท่านเป็นพิเศษในเข้าพรรษา นับเป็นเหตุให้มีประเพณีทำบุญเนื่องในวันนี้สืบมา...
          อย่างไรก็ตาม แม้การเข้าพรรษาจะเป็นเรื่องของพระภิกษุ แต่พุทธศาสนิกชนก็ถือเป็นโอกาสดีที่จะได้ทำบุญรักษาศีล และชำระจิตใจให้ผ่องใส ก่อนวันเข้าพรรษาชาวบ้านก็จะไปช่วยพระทำความสะอาดเสนาสนะ ซ่อมแซมกุฏิวิหารและอื่น ๆ พอถึงวันเข้าพรรษาก็จะไปร่วมทำบุญตักบาตร ถวายเครื่องสักการะบูชา ดอกไม้ ธูปเทียน และเครื่องใช้ เช่น สบู่ ยาสีฟัน เป็นต้น พร้อมฟังเทศน์ ฟังธรรม และรักษาอุโบสถศีลกันที่วัด บางคนอาจตั้งใจงดเว้นอบายมุขต่าง ๆ เป็นกรณีพิเศษ เช่น งดเสพสุรา งดฆ่าสัตว์ เป็นต้น อนึ่ง บิดามารดามักจะจัดพิธีอุปสมบทให้บุตรหลานของตน โดยถือกันว่าการเข้าบวชเรียนและอยู่จำพรรษาในระหว่างนี้จะได้รับอานิสงส์อย่างสูง 

การทำบุญถวายพระหลัก ๆ ที่ได้กุศลแรง คือ
 ๑. การเตรียมของ และจัดเอง
๒. การเตรียมข้าวของเครื่องใช้ที่จำเป็นกับการอยู่จำ
พรรษา(ถวายเป็นสังฆทาน)
๓. ผ้าไตรจีวร ๑ เมตร ๙๐ เซ็นติเมตร หรือพระที่
ท่านมีองค์ใหญ่หน่อยก็ ๒ เมตรคูณ ๓ เมตร
๔. ซื้อปลาในตลาดที่กำลังโดนฆ่า
๕. ชำระหนี้สงฆ์เอาเงินใส่ซองไว้นะคะแล้วแต่ศรัทธา(อธิฐาน
อโหสิกรรมด้วยนะคะ)
๖. เทียนเข้าพรรษา ๑ คู่
๗. ธูป สัก ๑ ห่อ

สุรินทร์จัดยิ่งใหญ่ตักบาตรบนหลังช้าง งดเหล้าเข้าพรรษา

                               


บรรยากาศการ
ของการทำบุญในหลายๆ วัดของ จ.สุรินทร์  เป็นไปด้วยความคึกคัก โดยเฉพาะที่วัดบูรพาราม อ.เมือง จ.สุรินทร์ ประชาชน พุทธศาสนิกชนจำนวนมาก ทั้งเด็ก วัยรุ่นหนุ่มสาว วัยทำงาน ที่ได้หยุดงาน และเดินทางกลับ จ.สุรินทร์ บ้านเกิด เยี่ยมครอบครัว ได้พาครอบครัว และผู้สูงอายุ ต่างทยอยพากันเดินทางกราบไหว้สักการะขอพรจากพระบรมสารีริกธาตุขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ภายในโบสถ์วัดบูรพาราม ไหว้อัฐิธาตุ หุ่นขี้ผึ้งหลวงปู่ดูลย์ อตุโล พระเกจิอาจาย์ชื่อดังสายกรรมฐาน
           นอกจากนี้ ทางวัดยังจัดให้มีกิจกรรมทำบุญรดน้ำมนต์ เพื่อความเป็นสิริมงคล ถวายสังฆทาน ตักบาตรพระประจำวันเกิด และทอดผ้าป่า 12 นักษัตร ประจำปีเกิด รวมทั้งทำบุญปล่อยนก ซึ่งต่างได้รับความสนใจจากประชาชนที่ต่างพาครอบครัว ญาติพี่น้อง เพื่อนฝูง และลูกหลาน มาร่วมทำบุญ จนภายในวัดดูคับแคบไปถนัดตา